การให้อาหารทางสายยาง จะให้เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้เองทางปากได้ แต่ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารยังสามารถทำงานได้ โดยอาจจากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ผู่ป่วยอ่อนเพลีย ผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร ผู่ป่วยมีปัญหาเรื่องการกลืน โดยผู้ดูแลหรือญาติ จะต้องเรียนรู้วิธีการจัดเตรียมและให้อาหารทางสายยางเพื่อการได้รับอาหารที่ถูกต้องและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะให้อาหารด้วย
อุกปรณ์ที่ใช้ในการให้อาหารทางสายยาง คือ
1. อาหารเหลว หรือ อาหารสำเร็จรูป (ตามคำสั่งของแพทย์)
2. กระบอกให้อาหารทางสายยาง
3. สำลี แอลกอฮอล์
4. สบู่ล้างมือ หรือ แอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ
การให้อาหารทางสายยางจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามตำแหน่งที่เข้าสู่ร่างกาย คือ
1. ใส่สายยางทางจมูก
2. ใส่สายยางทางหน้าท้อง
วิธีการให้อาหารทางสายยาง
1.เตรียมของเครื่องใช้ในการให้อาหารทางสายยาง อาหารเหลวและยาที่เตรียมให้ผู้ป่วย (ตามวิธีการเตรียมของเครื่องใช้ผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง)
2.จัดท่านอนให้ผู้ป่วยศีรษะอยู่สูงอย่างน้อย 45 องศา ในรายที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวควรให้หนุนหมอน ตั้งแต่หลังจนถึงศีรษะโดยใช้หมอน 2 ใบใหญ่หรือจัดให้ผู้ป่วยนั่งพิงพนักเตียงหรือให้นั่งเก้าอี้
3. จัดสิ่งแวดล้อมรอบๆผู้ป่วยให้สะอาดและ ผู้ที่จะให้อาหารต้องล้างมือให้สะอาดตามวิธีการล้างมือที่ถูกวิธี
4.ในผู้ป่วยที่เจาะคอมีท่อหายใจ ให้ดูดเสมหะในหลอดลมคอก่อน ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปอดอักเสบจากการสำลักอาหารและ ล้างมืออย่างถูกวิธีภายหลังดูดเสมหะให้ผู้ป่วย
ความรู้เรื่องการให้อาหารทางสายยาง คลิ๊กที่นี่ https://thetastefood.com/อาหารสายยาง/